วงจรไฟฟ้า (Electric circuits)
วงจรไฟฟ้า หมายถึงอะไร ?
หมายถึง
ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำและเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด
แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/pongpak/2007/12/20/entry-4
รูปตัวอย่างวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย |
อุปกรณ์ในการต่อวงจรไฟฟ้าอย่าง่าย
อุปกรณ์ในการวัดค่าทางไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าจะไหลจาก ศักย์สูง
ไปยังศักย์ต่ำ
ขั้วบวก ---> ขั้วลบ
อิเล็กตรอน จะไหลจากศักย์
ต่ำไปยังศักย์สูง
ขั้วลบ ---> ขั้วบวก
การต่อวงจรไฟฟ้ามีวิธีต่อ
3 แบบ
ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom's Taxonomy)
ในการสอนเรื่องวงจรไฟฟ้า
1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ
และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก
ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์
(Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา
นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ
ได้อย่างชัดเจน
1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันโดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปการประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ
มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
ที่มา : https://sirikanya926.wordpress.com/2014/01/18//ทฤษฎีการเรียนรู้ของbloom-blooms-taxono/
ที่นี้เราก็รู้จักกับทฤษฏีของ Bloom ไปแล้วในการนำทฤษฏีของ
Bloom มาประยุกต์ใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์เรื่อง วงจรไฟฟ้านั้น
มีวิธีการดังนี้
1. ให้อุปกรณ์การต่อวงจรไฟฟ้า
ทั้งแบบอนุกรม และ ขนาดแก่นักเรียนทุกคน
โดยให้หัวข้อคือ
ให้นักเรียนทุกคนต้องต่อวงจรขนาดและอนุกรมมาส่งครู
โดยระบุวิธีการต่อและข้อดีข้อเสียขอแต่ละประเภท โดยครูจะไม่บอกวิธีการต่อ
และไม่บอกข้อดีข้อเสีย เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการปฏิบัติจริง
ขั้นนี้จะเป็นขั้น Knowledge และ Comprehension คือการนำ ความรู้และความเข้าใจ มาใช้ในการต่อวงจรไฟฟ้าแต่ละรูปแบบและสรุปต้องสรุปการต่อให้ครู
2. เมื่อนักเรียนต่อและสรุปส่งให้ให้ครูแล้ว ครูจะให้นักเรียน Application คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ โดยการให้หัวข้อ ให้นักเรียนประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องเล่นหรือเครื่องใช้จากการต่อวงจรไฟฟ้าที่นักเรียนสนใจมา 1 ชิ้นและวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์นั้น
ขั้นนี้จะเป็นชั้น การนำความรู้เรื่องการต่อวงจรไฟฟ้าไปประยุกต์ (Application) อีกทั้งยังมี การวิเคราะห์ (Analysis) การทำงานของสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนด้วย
3. การนำสิ่งประดิษฐ์ส่งครู นักเรียนจะต้องปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองให้ดีที่สุด และเมื่อส่งสิ่งประดิษย์ครบแล้ว จะมีการประกวดสิ่งประดิษฐ์โดยให้นักเรียนเป็นคนให้คะแนนกันเอง
ขั้นนี้จะมีการ การสังเคราะห์ (Synthesis) ชิ้นงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเก่าและ มีการ การประเมินค่า (Evaluation) ชิ้นงานโดยตัวนักเรียนสามารถประเมินวินิจฉัยหรือตัดสิน สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนด้วยเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดไว้
ถ้าได้จัดการเรียนการสอนในข้างต้นจนครบทุกขั้นตอน
นักเรียนจะได้ความรู้การตัดสินใจและวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
และเป็นผลงานของนักเรียนในอนาคตอีกทั้งยังช่วยให้นักเรียนมีแรงบันดาลใจในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆในภายภาคหน้า
"การเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ใช้แค่เรียนทฏดี แต่ต้องนำไปปฏิบัติ
และสามารถนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ แก่มนุษย์สยชาติ"
ข้อมูลผู้จัดทำ นาย ธนาพร เขียนสุวรรณ 5611500348 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ติดต่อ 092-375-0085